665 Views |
ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เรื่องการเป็นนักเขียน หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อของ “เจ.เค. โรว์ลิ่ง (J.K. Rowling)” นักเขียนผู้สร้างตำนานหนังสือนิยายอันเลื่องชื่อสุดแฟนตาซี ที่มียอดจำหน่ายไปมากกว่า 350 ล้านเล่มทั่วโลก อย่าง ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ เธอคือเจ้าของเรื่องราวชีวิตพลิกผันเพราะขยันแต่งนิยาย จนกลายเป็นมหาเศรษฐีและหนึ่งในผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของโลกคนหนึ่ง
ความสำเร็จของเธอเกิดขึ้นจากการ “เริ่มลงมือทำ” โดยเธอเริ่มต้นเขียนนิยายจากสิ่งที่อยู่รอบตัวและมักจะหาแรงบันดาลจากการเดินทางไปในหลายๆ ซึ่งเธอต้องใช้ความอดทนและความพยายามทุ่มเทแรงกายแรงกายต่อสู้เพื่อหวังสร้างโอกาสใหม่ให้ชีวิตในวันข้างหน้า และหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เธอไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาคือ “ความเชื่อมั่นว่าต้องทำได้และเธอก็ทำมันได้จริงๆ”
มาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายๆ คนเริ่มมีแรงบันดาลใจ วาดฝันเส้นทางในการเป็นนักเขียนแบบ เจ.เค. และ คันไม้คันมืออยากหยิบจับปากกา หาคอมพิวเตอร์เตรียมพร้อมคีย์อักษร ขึ้นมาบ้างแล้ว แต่การจะไปสู่เส้นทางนั้นได้ควรเริ่มต้นอย่างไร เมื่อเริ่มต้นไปแล้วจะมีคนอ่านงานของเราไหม วันนี้เราได้รวบรวมเคล็ดไม่ลับฉบับ Eread “อยากเป็นนักเขียนให้คนพูดถึงและติดตามต้องเริ่มอย่างไร” มาฝากกัน
1. ถามตัวเองว่าชอบงานเขียนแบบไหน
ความชอบถือเป็นส่ิงแรกที่ต้องนึกถึงในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เพราะถ้าไม่ได้เกิดจากความชอบ สักวันเราก็จะหยุดทำมันเอง ดังนั้นควรเลือกประเภทงานเขียนที่ชอบ เช่น งานเขียนแนวแฟนตาซี งานเขียนแนวโรแมนติก งานเขียนแนวสืบสวนสอบสวน เป็นต้น ค้นหาไปเรื่อยๆ เดี๋ยวสักวันเราจะเจอสิ่งที่ชอบเอง
2.หาอ่านผลงานเขียนอื่นๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
การมีตัวอย่างที่ดีถือเป็นโชคดีของผู้ตาม ลองหาอ่านงานเขียนที่ชื่นชอบหรือได้รับรางวัลต่างๆ มาศึกษาแนวทางการเขียน เพราะการจะเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้นต้องมีมุมมอง รวมถึงเทคนิคในการเขียนที่หลากหลาย รู้จักเรียนรู้และปรับเปลี่ยนเทคนิคการเขียนให้แปลกใหม่อยู่เสมอ (แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ไปลอกงานเขียนเขามานะคะ ไม่งั้นโดนลิขสิทธิ์แน่ๆ)
3.เริ่มฝึกเขียนเรื่องสั้น
ก่อนการเขียนเรื่องสั้นเราต้องมีโครงเรื่องแบบแผนอยู่ในหัวบ้างแล้ว ลองนำโครงเหล่าเรื่องนั้นมาหัดเขียนเรื่องสั้น เมื่อเขียนจบแล้วนอกจากทำให้มีกำลังใจในการเขียนมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถมองเห็นจุดเด่นจุดด้อยในงานเขียนของตัวเอง ปรับปรุงให้งานเขียนของเราให้ดีขึ้นได้
4.ใส่เอกลักษณ์ของตัวเองลงไป
นักเขียนต้องมีลายเซ็นในงานเขียนของตัวเอง หรือ เอกลักษณ์ในการใช้ภาษาของนักเขียนคนนั้น ๆ ซึ่งผู้อ่านบางคนแค่ได้อ่านงานเขียนบางงานก็รู้ได้เลยว่าผลงานนั้นเป็นของใคร ดังนั้นต้องหาเอกลักษณ์ ภาษาของตัวเองให้เจอ วิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้อ่านจดจำเราได้
5.ลองทำบล็อกส่วนตัวเพื่อลงงานเขียนและเป็นผู้รับฟังที่ดี
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายด่านปราบเซียนของจริง คือ การนำงานเขียนของเราไปลงเว็บไซต์หรือเผยแพร่ออกสู่โลกกว้างถือเป็นก้าวแรกที่งานเขียนของเราได้ถูกอ่านจากผู้อ่านจริงๆ และที่สำคัญคุณต้องยอมรับคำติชมจากผู้อ่านให้ได้ คุณเปิดใจรับฟังคำติชมมากเท่าไหร่ คุณจะยิ่งเข้าใจมุมมองคนอ่านมากยิ่งขึ้น งานเขียนของคุณก็จะถูกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น